จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 13 แน้วโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
มีความจำเป็นในการักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ และสังคม ดังนั้นการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงเป็นการกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพ
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.   การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิธีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
2.   การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ การประสานงานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก  มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
2. เป็นการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรุ้
3. เป็นการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ความสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เพื่อรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
3. เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับการท่องเที่ยวในอนาคต
หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. อนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างดี
2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น
3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมชาติ
4. การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5. ต้องการนำเอาการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6. การมีส่วนร่วม  การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7. การประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน
8. การพัฒนาบุคลากร
9. จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10. ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 
เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ มีการจัดการด้านความรู้ รับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว  และทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบกและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1.   กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบก ได้แก่ การเดินป่า  การปีนเขา  การศึกษาธรรมชาติ การส่องสัตว์ การดูนก  การขี่ม้า  นั่งช้าง เที่ยวถ้ำ เที่ยวน้ำตก เป็นต้น
2.   กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล ได้แก่ การดำน้ำดูปะการัง  การล่องแก่ง  การพายเรือ
แคนู การเที่ยวป่าชายเลน เป็นต้น

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
                เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
2. มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
3. มีการจัดการระบบให้บริการไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
4. มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
5. สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณกับเกษตรกรในด้านกระบวนการประกอบอาชีพ
6. ทำเกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้  ความเพลิดเพลินการพักผ่อนหย่อนใจ และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
1. การกสิกรรม เช่นการทำนา ทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ  ไม้ผล ตลาดการเกษตร เป็นต้น
2. การประมง เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง
3. การปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโค กระบือ สุกร และอื่นๆ เป็นต้น
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
                เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 12 การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 12 การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น  โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ซึ่งมีหลักอยู่ 2 ประการคือ
1.    รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2.       รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ โดยเกิดขึ้นระหว่างลูกค้ากับสถาบันการเงินนั้นๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
                การใช้อินเตอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวเพื่อวางแผนการเดินทาง  จองที่พัก  จองตั๋วโดยสารต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่า มีนักท่องเที่ยวจำนวนถึง 64 ล้านคนใช้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในปี ค.ศ.2002 เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ สถานประกอบการ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อตรวจดูข้อมูลและกำหนดการสำหรับการเดินทางของตน
ประโยชน์ของอินเตอร์เนตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
1.             ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสากรรมการท่องเที่ยว  ปัจจุบันสถานประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ได้จัดทำระบบที่เหมาะสมกับตนเพื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
2.             ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สถานประกอบการธุรกิจโรงแรม เริ่มใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนไปยังลูกค้าโดยตรง ซึ่งข้อได้เปรียบในการใช้ระบบอินเตอร์เน็ทเพื่อเป็นช่องทางในการขาย คือ ลูกค้าสามารถดำเนินขั้นตอนการทำงานทั้งหมดได้เอง เช่น ระบบจองตั๋วเครื่องบิน  เป็นต้น
ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
                การเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากมายโดยครอบคลุมทั้งธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวและบริการต่างๆ โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูลต่างๆ การตลาด ผลิตภัณฑ์  และการบริการเนื่องจากจำวนผู้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าและการบริการทางด้านการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
วิธีการระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์สูงสุด
1.       การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นขั้นง่ายที่สุดโดยเปรียบเสมือนป้ายโฆษณาทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เวปไซด์ที่มีการออกแบบให้มีระบบการจัดการที่ดีและรูปแบบสวยงามนั้นจะได้รับความนิยมจากผู้เยี่ยมชม
2.       การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นรูปแบบหนึ่งของข้อมูลและเนื่องจากการบริการและผลิตภัณฑ์นั้นมีหลากหลาย  และมีการแข่งขันทางการโฆษณาเป็นอย่างมาก  ทำให้ลูกค้าต้องการข้อมูลเพื่อที่จะนำมาใช้เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ดังนั้นองค์การต่างๆ ควรจะนำเสนอข้อมูลที่มีการจัดทำอย่างเป็นระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า
3.       การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเวปไซด์ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้มีเครื่องนับจำนวนของผู้ที่มาเยี่ยมชมเวปไซด์  นอกจากนี้ยังมีการให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นผ่านทางฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์
4.      การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถรองรับระบบการจองและชำระเงินผ่านทางเวปไซด์ได้โดยตรง  โดยรูปแบบและวิธีการชำระเงินนั้นจะต้องมีความแน่นอนและชัดเจน  เพื่อลูกค้าจะได้ทำธุรกรรมได้โดยปราศจากข้อผิดพลาดและสะดวกสบาย  นอกจากนี้ยังควรมีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับระบบการชำระเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่อาจจะนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ดี

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
องค์กรระหว่างประเทศ
1. องค์การท่องเที่ยวโลกเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาล มีองค์กรภายใน คือ สมัชชา คณะมนตรีบริหาร สำนักงานเลขาธิการ  สำนักงานเลขาธิการภูมิภาค และคณะกรรมการประจำภูมิภาค
2.   องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก โดยยึดหลักการและกลยุทธ์ในการวางแผนและพัฒนาการขนส่งทางอากาศ
3.   โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นโครงการความร่วมมือ 6 ประเทศ คือ ไทย จีน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา โดยให้ความร่วมมือกันในเรื่อง การคมนาคมขนส่ง พลังงาน โทรคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การค้าและการลงทุนการท่องเที่ยว
4.   โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีปบังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย มีการตกลงทำความร่วมมือกันในเรื่อง การค้าการลงทุน  เทคโนโลยี  พลังงาน และอื่นๆ
5.   โครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำคงคา เป็นโครงการความร่วมมือของ 7 ประเทศ คือ ไทย อินเดีย  จีน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยให้ความร่วมมือกันในด้านวัฒนธรรม  การศึกษา  การสื่อสารคมนาคมและการท่องเที่ยว
6.   โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ไทย  เป็นโครงการความร่วมมือทางประวัติศาสตร์
7.  คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน เป็นสมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
8.   สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก  เป็นองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการท่องเที่ยว
9.   สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศเป็นองค์กรที่ส่งเสริมให้มีการขนส่งทางอากาศที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
10.  สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ  เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
11.  องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว เป็นองค์การที่ทำให้การท่องเที่ยวมีรูปแบบที่ยุติธรรมและมีจริยธรรมในการท่องเที่ยว
12.  สมาพันธ์สมาคมนำเที่ยวนานาชาติ  เป็นตัวแทนของบริษัทนำเที่ยว ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
13.  สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ส่งเสริมความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน
14. สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเอเชียตะวันออกส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคที่ประเทศสมาชิกตั้งอยู่
15. สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน  ส่งเสริมให้มีการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่างๆ
16. สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา  เป็นสมาคมที่วางมาตรการบริการแก่นักท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยว


(เขื่อนสิริกิติ์)

องค์กรในประเทศไทย
1. สำนักนายกรัฐมนตรี ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
2. สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว  สนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  เป็นองค์กรที่สนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในประเทศไทย
4. สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ เป็นองค์การมหาชนของรัฐ ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ
5. องค์กรต่างๆที่กำกับดูแลด้านแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย
5.1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
5.2 กรมทรัพยากรธรณี
5.3 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
5.4 กรมศิลปากร
5.5 กรมการศาสนา
5.6 กรมชลประทาน
5.7 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5.8 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.9 กรมควบคุมมลพิษ
5.10 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5.11 องค์การสวนสัตว์
5.12 องค์การสวนพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย
5.13 สำนักงานจังหวัด
5.14 สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
6. องค์กรที่กำกับควบคุมดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
6.1 กรมการขนส่งทางอากาศ
6.2 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
6.3 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
6.4 บริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (มหาชน)
6.5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
6.6 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
6.7 กรมทางหลวง
6.8 กรมการขนส่งทางบก
6.9 กรมการขนส่งทางน้ำและพานิชยนาวี
6.10 การรถไฟแห่งประเทศไทย
6.11 บริษัท ขนส่ง จำกัด
6.12 การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
6.13 การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค
6.14 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
7. องค์กรที่กำกับดูแลด้านสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
7.1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
7.2 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
7.3 สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
7.4 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
7.5 กรมศุลกากร


(เขื่อนภูมิพล)
8. องค์กรที่กำกับดูแลด้านบริการทางการท่องเที่ยว
8.1 กองกำกับการตำรวจแห่งชาติ
8.2 สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
8.3 กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
8.4 ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
8.5 ธนาคารและสถาบันการเงิน
8.6 กระทรวงสาธารณะสุข
8.7 กรมสรรพากร
9. องค์กรที่กำกับดูแลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
9.1 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
9.2 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
9.3 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
10. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว  เป็นการรวมตัวกันของบริษัทนำเที่ยวและเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเน้นการเดินทางภายในประเทศ
11. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว
12. สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย
13. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ
14. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
15. สมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
16. สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
17. สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย
18. ไซท์ไทยแลนด์ แชฟเตอร์
19. สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติไทย
20. สมาคมโรงแรมไทย
21. สมาคมภัตตาคารไทย
22. สมาคมสวนสนุกและส่วนพักผ่อนหย่อนใจ
23. สมาคมเพื่อสวนสัตว์ไทย
24. สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
25. ชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน
26. สมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง
27. สมาคมเรือไทย
28. สมาคมการแสดงสินค้า
29. สมาคมสปาไทย
30. หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัด
31. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

(แหลมพรหมเทพ)