จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 13 แน้วโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
มีความจำเป็นในการักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ และสังคม ดังนั้นการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงเป็นการกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพ
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.   การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิธีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
2.   การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ การประสานงานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก  มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
2. เป็นการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรุ้
3. เป็นการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ความสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เพื่อรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
3. เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับการท่องเที่ยวในอนาคต
หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1. อนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างดี
2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น
3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมชาติ
4. การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5. ต้องการนำเอาการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6. การมีส่วนร่วม  การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7. การประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน
8. การพัฒนาบุคลากร
9. จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10. ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 
เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ มีการจัดการด้านความรู้ รับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว  และทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบกและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1.   กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบก ได้แก่ การเดินป่า  การปีนเขา  การศึกษาธรรมชาติ การส่องสัตว์ การดูนก  การขี่ม้า  นั่งช้าง เที่ยวถ้ำ เที่ยวน้ำตก เป็นต้น
2.   กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล ได้แก่ การดำน้ำดูปะการัง  การล่องแก่ง  การพายเรือ
แคนู การเที่ยวป่าชายเลน เป็นต้น

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
                เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
2. มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
3. มีการจัดการระบบให้บริการไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
4. มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
5. สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณกับเกษตรกรในด้านกระบวนการประกอบอาชีพ
6. ทำเกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้  ความเพลิดเพลินการพักผ่อนหย่อนใจ และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
1. การกสิกรรม เช่นการทำนา ทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ  ไม้ผล ตลาดการเกษตร เป็นต้น
2. การประมง เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง
3. การปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโค กระบือ สุกร และอื่นๆ เป็นต้น
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
                เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

1 ความคิดเห็น: