จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแต่งต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ
ของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบ
ลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
จึงหมายถึงเครือข่าย

ทฤษฏีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1 ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(hierarchy of needs)
2 ทฤษฏีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(travel career ladder)
3 แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(hidden agenda)
4 แรงจูงในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ swarbrooke
ในหนังสือเรื่องconsumer behavior in tourismของjohn swarbooke แรงจูงใจ
จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6ชนิด
ด้วยกันที่แสดงอยู่ในแผนภูมิที่3แรงจูงใจเหล่านี้ได้แก่
1 แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ(physical)
2 แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3 การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ควารู้สึกบางอย่าง
4 การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
5 แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6 แรงจูงใจส่วนบุคคล
สรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยวจากแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจในทัศนะของนักวิชาการด้านแรงจูงใจทั้ง4คนที่ได้กล่าวมาแล้ว

สามารถสรุปได้ว่า ในการที่นักท่องเที่ยวจะเลือกแหล่งที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ได้
 และRutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้
1 แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่วแวดล้อม
2 แรงจูงใจที่ได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3 แรงจูงใจที่จะที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4 แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5 แรงจูงใจที่จะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6 แรงจูงใจที่จะที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7 แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8 แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9 แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10 แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายนักเดินทางประเภทแบกเป้นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย
 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางลักษณะ
แบบนี้อาจจะสรุปได้เป็น 4 มิติด้วยกันดังต่อไปนี้
1 การหลีกหนี(escape)
2 การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่วแวดล้อม
3 การทำงาน(employment)
4เน้นการคบหาสมาคม(social focus)

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานในอุคสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานใน
การรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามาร
ดำเนินงานไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ
เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมได้แก่
1 ระบบไฟฟ้า
2 ระบบประปา
3 ระบบสือสารโทรคมนาคม
4 ระบบการขนส่งประกอบไปด้วย
4.1ระบบการเดินทางทางอากาศ
4.2ระบบการเดินทางทางบก
4.3ระบบการเดินทางทางน้ำ
4.4ระบบสาธารณสุข

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไปจำทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและ
ลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ประกอบกับการที่มนุษย์มักต้องการเดินทางท่องเที่ยว
ไปยังบริเวณต่าง ๆ ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างออกไปจากที่ตนเองอาศัยอยู่ ส่งผลให้เกิด
การเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่างๆบนผิวโลก จึงเห็นว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัย
ทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่
ตนเองอาศัยอยู่
1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1ลักษณะ๓มิประเทศ
การเปลี่ยนแหลงของเปลือกโลกมีได้2ลักษณะดังนี้
1)การเปลี่ยนแหลงจากภายในเปลือกโลก
2)การเปลี่ยนแหลงบริเวณผิวโลก
2.2ลักษณะภูมิอากาศ
2.2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม

เกิดจากแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่การตัดสินใจที่จะไปท่องเที่ยวมัก
จะเกิดจากแรงจูงใจหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันเช่น การที่คู่สมรสชาวฮ่องกงผู้หนึ่งตัดสินใจ
เดินทางมาเที่ยวประเทศไทยแนวโน้มของแรงจูงใจ

บทที่2 ประวัติศาสตร์การทอ่งเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

บทที่2 ประวัติศาสตร์การทอ่งเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถจะสืบย้อนได้ไปถึงสมัยที่ยังมีอาณาจักร
BabylonianและอาณาจักรEgyptianหลักฐานที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ก็คือได้มีการ
ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปชมในนครได้เมื่อประมาณ2600ปี
มาแล้วนักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวเมื่อประมาณ300ปีก่อนคริสตกาล
หรือ2300ปีมาแล้วนักท่องเที่ยวชาวกรีกจะนิยมเดินทางไปยังสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิต
ของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากกรีกมีการปกครองในแบบนครรัฐ

มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้น
การเดินทางในสมัยแรกๆมาจากข้อเขียนนักประวัติศาสตร์และนักเดินทางที่มีความสำคัญ                         ที่มีชื่อว่าHerodotusซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 484 ปี ถึง 424 ปีก่อนครีสตกาลอาจเรียกได้ว่า
เป็นนักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวคนแรกของโลกก็ว่าได้
หนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ400ปีก่อนคริตสกาลซึ่งครอบคลุม                               แหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย นักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว                         ชาวกรีกชื่อPausaniasได้เขียนหนังสือชื่อว่า description of Greeceขึ่นในระหว่าง                         คศ.160-180

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตศตวรรษที่17ถึงต้นศตวรรษ19
ช่วงก่อนที่จะถึงศตวรรษที่ 16 คนที่ ต้องการเดินทางมีวิธีที่จะทำได้ 3 วิธี คือ ด้วยการเดินเท้าซึ่งเป็น

วิธีเดินทางของคนจน วิธีที่สองคือการขี่ม้า และวิธีสุดท้ายคือใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นผู้แบกซึ้ง
วิธีนี้เป็นเป็นวิธีเดินทางของชนชั้นสูงเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้เกวียนเที่ยมด้วยม้า การเดินทางด้วยวิธีการ
หลังนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะช้าและทรมานเพราะเกวียนไม่มีสปิงหรือแหนบลดการกระเทือน

ทัวร์
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่18เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ้งเป็นผลมาจากเสรีภาพ

และความต้ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ้งเป็นผลมากี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะช้าและทรมานเพราะเกวียน
ไม่มีสปิงหรือแนสูงเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้เกวียนเที่ยมด้ องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
 ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ300ปีเริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่15และสิ้นสุดในราวศตวรรษที่17
โดยมีออตาลีเป็นแหล่งกำเหนิดและเป็นแบบฉบับให้ประเทศเพื่อนบ้านเรา ในปีค.ศ.1749
dr. Thomas Nugentได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาเล่มหนึ่งให้ชื่อว่า 
the grand tourหนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้นนักเดินทางใจ
กล้าบางคนเดินทางไปไกลถึงอีบยิปต์

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่spa
เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ยุคโรมันโดยเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยาแต่ความนิยมการ

ไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าความนิยมจะลดลงโดยสิ้นเชิง 
เพราะคนที่เจ็บป่วยก็ยังคงเดินทางไปยังเมือง bath ตลอดช่วงของยุคกลางในยุคฟื้นฟู
ศิลปวิทยาการ การเดินทางไปรับการอาบน้ำแร่บำบัดด้วยน้ำแร่ได้กลายมาเป็นสถานภาพ
ทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้บรรดาสถานบำบัดทั้งหลายเปลี่ยนแมหน้าจาสถาบันเดิมไปเป็น
สถานที่เพื่อความเพลิดเพลินแทน bath

กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล
การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นต้นมา 

การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้อาบทั้งเสื้อผ้าเพราะการถอดเสื้อผ้าว่ายน้ำขัดกับจารีตประเพณี
ในสมัยนั้น การอาบน้ำทะเลเริ่มต้นขึ้นจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่19
1.ปัจจัยส่งเสริมการเดินทาง
2. ปัจจัยดึงดูดให้คนเดินทาง

ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ:กำเนิดการเดินทางโดยรถไฟ
ผู้ประกอบกินจการท่องเที่ยวคนแรกน่าจะได้แก่ sir Rowland hillประธานบริษัทรถไฟ

เมือง Brighton ซึ่งจัดการท่องเที่ยวแบบเหมาเป็นครั้งแรกโดยนำนักท่องเที่ยวจาก
wade bridge ไปยังBrightonThomas cook ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ริเริ่ม
ที่มีความสำคัญที่สุดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระยะเริ่มแรกในปี 1841 ขณะที่ cook
ยังเป็นเลขาธิการของmidland temperance association เขาได้จัดทัวร์พาสมาชิกของสมาคม
 เดินทางจาก Leicester ไปยังlough borough ในราคา 1 ชิลลิ่ง 5เพนนี

เรือกลไฟ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางทางน้ำ การพัฒนาทางด้านการค้ากับทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทวีปอเมริการเหนือทำให้ประเทศอังกฤษต้องพัฒนาการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ
ที่เร็วขึ้นและเชื่อใจได้มากยิ่งขึ้นThomas cook ได้จัดนำคณะทัวร์ของเขาออกเดินทางไปท่องเที่ยวทวีปอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1866

การท่องเที่ยวในศตวรรษที่20(1901-20)ช่วง50ปีแรก
เพราะความมั่งคั่งของผู้คน ความอยากรู้อยากเห็น และทัศนคติที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในยุคหลังสมัยวิคติเรีย ประกอบกับการพัฒนาระบบการขนส่งอย่างต่อเนื่อง นักเดินทางมีความปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและการโจมตีของ โจรผู้ร้าย ทวีปยุโรปมีความั่นคงทางการเมือง เอกสารเดินทางก็ไม่ยุ่งยากตั้งแต่ ปี 1860

การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่2

การเดินทางทางอากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่2ถึงแม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 1950

ค่าโดยสารจะค่อนข้างมีราคาแพงก็ตามแต่เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยวิธีการอื่นการเดินทางโดยเครื่องบินก็ยับนับว่าไม่แพง จำนวนผู้โดยสารี่เดินทางทางอากาศเพิ่มมากกว่าผู้โดยสารที่เดินทางทางเรือ
ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 ในต้นทศวรรษที่ 1970 มีการนำเครื่องบินโดยสารที่เร็วกว่าเสียงคือเครื่องบินคองคอร์ด เข้ามาใช้ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศษ


คำถามท้ายบทที่ 2

1.ท่านคิดว่าการเปิดสปาในเมืองบาธขึ้นมาใหม่จะประสบความสำเร็จแค่ไหนและสปาอื่นๆ จะกลับมามีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่ในอังกฤษอธิบายว่าทำไมสปาในอังกฤษไม่เป็นที่นิยมขณะที่ในยุโรปเป็นที่นิยม
ตอบ เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ยุคโรมันโดยเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยาแต่ความนิยมการไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าความนิยมจะลดลงโดยสิ้นเชิง เพราะคนที่เจ็บป่วยก็ยังคงเดินทางไปยังเมือง bath ตลอดช่วงของยุคกลางในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  การเดินทางไปรับการอาบน้ำแร่บำบัดด้วยน้ำแร่ได้กลายมาเป็นสถานภาพทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้บรรดาสถานบำบัดทั้งหลายเปลี่ยนแมหน้าจาสถาบันเดิมไปเป็นสถานที่เพื่อความเพลิดเพลินแทน bath


2.ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวหลายอย่างของผู้ประกอบการ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จงอภิปรายว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่จะสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน
ตอบ ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
1.ปัจจัยส่งเสริมการเดินทาง
2. ปัจจัยดึงดูดให้คนเดิน

3.ทำไมประเทศอังกฤษจึงเป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญในด้านการท่องเที่ยวสมัยใหม่
ตอบ จำนวนผู้โดยสารเดินทางทางอากาศเพิ่มมากกว่าผู้โดยสารที่เดินทางทางเรือ มีการนำเครื่องบินโดยสารที่เร็วกว่าเสียงคือเครื่องบินคองคอร์ด เข้ามาใช้

บทที่1ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว

ความหมายของการท่องเที่ยว
การที่เราจะหาความหมายของคำว่า "การท่องเที่ยว" นั้นทำได้ยาก เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ คล้ายกับกิจกรรมทางการกีฬา หรืองานอดิเรก และการใช้เวลาว่างในปีพ.ศ.2506ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางฃ และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีและยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ IUOTต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ.2513 WTO

การท่องเที่ยวมี 3 ลักษณะ คือ
1.การเดินทางจากที่อยู่ปกติไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว
2.การเดินทางไปด้วยความสมัครใจ
3.การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพ


การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
-เดินทางไปพักฟื้น ไปรักษาตัวในสภานที่ต่างๆ
-การเดินทางไปประชุม
-การเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้อง
การเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
-การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวร
-การเดินทางไปประกอบอาชีพ
-การเดินทางโดยไม่สมัครใจ หรือถูกบังคับ


นักท่องเที่ยว (Tourist) นักท่องเที่ยว คือผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยว พักอาศัย มาเยือน เป็นการชั่วคราว และมาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง ท่องเที่ยว และกิจกรรมนันทนาการกลุ่มนักท่องเที่ยว
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นฐาน หรืออยู่อาศัยในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น หรือเป็นคนถิ่นเดิม แต่ไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ไม่มีถิ่นพำนัก และพัก ณ สถานที่นั้น มากกว่า 24 ชั่วโมง


ผู้มาเยือนตามถิ่นพำนัก1.ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่อยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาท่องเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง
2.ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปอีกประเทศหนึ่ง
3.ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ อาจเรียกว่า ผู้มาเยือนขาเข้า หรือผู้มาเยือนภายในประเทศก็ได้


วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว


1.เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และพักผ่อน (Holiday) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน และเพื่อไปเยี่ยมชมสถานที่ใหม่ๆ รวมไปถึงการเดินทางไปเยี่ยมญาติมิตรด้วย (Visits to Friends and Relatives : VFR)
2.เพื่อธุรกิจ (Business) เป็นการเดินทางที่ร่วมไปกับการทำงาน แต่วัตถุประสงค์หลักคือการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ท่องเที่ยวนั้น และยังรวมไปถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และจัดนิทรรศการ MICE (Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions)
3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และซับซ้อนมากกว่าการพักผ่อนหรือประชุม เช่น การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

ประเภทการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 วิธี
 การแบ่งตามสากล ได้แก่


1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism) 
         หมายถึง ผู้ที่อาศัยภายในประเทศนั้น เดินทางภายในประเทศของตนเอง
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism) 
       หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ประเทศอื่นแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศนั้นๆ
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
       หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยในประเทศหนึ่งแล้วเดินทางไปยังต่างประเทศ






1.แบบหมู่คณะ เรียกว่า Group Inclusive Tour : GIT
         แบ่งเป็น 2 แบบ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด กรุ๊ปเหมา คือการเที่ยวแบบเป็นของคณะนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กัน อาจเป็นการส่วนตัวหรือหน้าที่การงาน และเดินทางร่วมกัน ส่วนกรุ๊ปจัด คือการเดินทางของคณะนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันในทางส่วนตัวและด้านหน้าที่การงาน แต่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่เดียวกัน โดยการซื้อโปรแกรมนำเที่ยวที่ถูกจัดไว้ เมื่อถึงเวลาจึงเดินทางพร้อมกัน



2.แบบอิสระ เรียกว่า Foreign Individual Tourism : FIT
         นักท่องเที่ยวมักเดินทางตามลำพัก อาจจะวางแผนการเดินทางด้วยตนเองหรือใช้บริการบริษัทนำเที่ยวก็ได้

การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง



1.การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อนกิจกรรมมักไม่สลับซับซ้อน เรียบง่าย ตามแบบที่ตนเองชอบ
2.การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจคือ กิจกรรมทางธุรกิจทั่วไป และจัดอยู่ในกลุ่ม MICE ส่วนกิจกรรมเสริมอาจจะเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนคลายเครียด ความสนุกสนาน ฯลฯ
3.การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษกิจกรรมจะมีความสลับซับซ้อนและเป็นระบบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
ก. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น การดูนก การดำน้ำดูปะการัง การเดินป่า เป็นต้น
ข. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา เช่น การปีนเขา การอาบน้ำแร่ เป็นต้น
ค. การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม เช่น การศึกษาแหล่งโบราณสถาน เป็นต้น
ง. การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การชมวิถีชีวิตในชนบท เป็นต้น
จ. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้โดยมีการจัดการไว้ล่วงหน้


องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรมสำหรับการท่องเที่ยวอาจมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาแหล่งท่องเที่ยว การซื้อของ การประชุม บางอย่างเป็นธุรกิจ ที่ตอบสนองความต้องการโดยตรงของนักท่องเที่ยว แต่ธุรกิจเป็นธุรกิจที่สนับสนุนให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวดำเนินไปได้ด้วยดี

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงหมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็หมายถึง สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับนักท่องเที่ยว

2.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.ธุรกิจการประชุม สัมมนา
3.การบริการข้อมูลข่าวสาร
4.การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง



คำถามท้ายบทที่ 1
1.จงอธิบายความหมายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตอบ หมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็หมายถึง สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน


2.การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมีเกณฑ์ใดเป็นตัวกำหนด จงอธิบายและยกตัวอย่างการเดินทางที่เป็นการท่องเที่ยวประกอบ
ตอบ  นักท่องเที่ยว (Tourist)
นักท่องเที่ยว คือผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยว พักอาศัย มาเยือน เป็นการชั่วคราว และมาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง ท่องเที่ยว และกิจกรรมนันทนาการ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นฐาน หรืออยู่อาศัยในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น หรือเป็นคนถิ่นเดิม แต่ไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ไม่มีถิ่นพำนัก และพัก ณ สถานที่นั้น มากกว่า 24 ชั่วโมง

นักทัศนาจร (Excursionist)
นักทัศนาจร คือผู้ที่มาเที่ยวเป็นการชั่วคราว และพักอาศัยอยู่ ณ สถานที่นั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ
กลุ่มนักทัศนาจร
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร
-ผู้ที่มาเยือนและจากไป ภายในวันเดียว

3.ผู้มาเยี่ยมเยือน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1.ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่อยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาท่องเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง

2.ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปอีกประเทศหนึ่ง

3.ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ อาจเรียกว่า ผู้มาเยือนขาเข้า หรือผู้มาเยือนภายในประเทศก็ได้


4.จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมาให้เข้าใจ
ตอบ 1.เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และพักผ่อน (Holiday) 
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน และเพื่อไปเยี่ยมชมสถานที่ใหม่ๆ รวมไปถึงการเดินทางไปเยี่ยมญาติมิตรด้วย (Visits to Friends and Relatives : VFR)


2.เพื่อธุรกิจ (Business)
เป็นการเดินทางที่ร่วมไปกับการทำงาน แต่วัตถุประสงค์หลักคือการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ท่องเที่ยวนั้น และยังรวมไปถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และจัดนิทรรศการ MICE (Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions)

3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และซับซ้อนมากกว่าการพักผ่อนหรือประชุม เช่น การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

5.การท่องเที่ยวที่แบ่งตามสากลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism) 
หมายถึง ผู้ที่อาศัยภายในประเทศนั้น เดินทางภายในประเทศของตนเอง

2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism) 
หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ประเทศอื่นแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศนั้นๆ

3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยในประเทศหนึ่งแล้วเดินทางไปยังต่างประเทศ

6.จงอธิบายความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ตอบ 1. สร้างรายได้เป็นเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
2. ก่อให้เกิดการหมุนเวียนและการกระจายรายได้ไปสู้ท้องถิ่น
3. ก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
4. ช่วยลดปัญหาการว่างงาน

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต

395 ปี บันทึกของปินโต (หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย)
 
บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย

ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปีแม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม

ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” (กรมศิลปากร, 2526 : 42 ) เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ( Sir Richard Burton) ในงานเขียนชื่อ “The Third Voyage of Sinbad, the Sailor” ระบุว่า การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส” ดับเบิลยู. เอ.อาร์. วูด (W.A.R. Wood) ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้เดินทางกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่งเพื่อความบันเทิง มิใช่เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของปีศักราชในบันทึกชิ้นนี้ด้วย
นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง สุเนตร ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569 เป็นต้น
งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล (Campos,1940,P.21) ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา (Timing) ที่ระบุในบันทึกของเขา และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย

สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (นิธิ, 2525 : 65) แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

จดหมายเหตุลาลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์
จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: "Du Royaume de Siam" แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง 3 เดือน 6 วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส
จุดประสงค์ของการเขียน
มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2230 มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 เดินทางกลับเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2231 ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี